นครศรีธรรมราช : เมืองแห่งการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม
Nakhon Si Thammarat : Cultural Heritage Learning City
หน้าแรก
ความเป็นมา
ย่าน
ย่านพระเวียง
ย่านเมืองเก่า
ย่านท่าวัง
ย่านท่าตีน
MOOC
พิพิธภัณฑ์
เกม
ภาคีเครือข่าย
สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
TAT : Nakhon Si Thammarat + Phatthalung
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ติดต่อเรา
Login
ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม
ชื่อย่าน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
ชนิดมรดกทางวัฒนธรรม
Search
มรดกทางวัฒนธรรม >> หอระฆัง
ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม : หอระฆัง
หอระฆัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้างประมาณ 2.50 เมตร สูงประมาณ 7.00 เมตร ยอดทรงกลมคล้ายเจดีย์ ไม่ทราบปีที่สร้าง แต่พิจารณาจากเทคนิควิธีการสร้างที่ยังคงใช้การก่ออิฐถือปูนอยู่ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อนรัชกาลที่ 7 เนื่องจากหอระฆังที่สร้างในเมืองนครในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 - รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมานิยมใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หอระฆังนี้อาจเป็นอาคารหลังแรก ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในวัดและอาจถูกสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับอุโบสถหลังเก่า
หอระฆังมีทางขึ้นอยู่ด้านทิศตะวันตก หาเข้าหาเขตสังฆาวาสของวัด ซึ่งจากภาพถ่ายเก่าพบว่ามีหมู่กุฏิตั้งอยู่หลายหลัง ก่อนที่ในต่อมาเขตสังฆาวาสจะย้ายไปอยู่ทางทิศเหนือของวัด พื้นชั้นสองของหอระฆังเป็นไม้ แต่ไม่เหลือสภาพอยู่แล้วในปัจจุบัน และไม่มีระฆังแขวนอยู่ อย่างไรก็ตามที่ใต้ถุนของหอไตรอินทสุวรรณมีระฆังถูกเก็บรักษาอยู่ 2 ใบ มีจารึกกำกับอยู่ ระฆังทั้งสองใบอาจได้เคยผลัดเปลี่ยนกันแขวนอยู่บนหอระฆัง จนกระทั่งเมื่อเขตสังฆาวาสถูกโยกย้ายไปในราว พ.ศ. 2518 หอระฆังก็หมดหน้าที่การใช้สอยลง
พื้นที่ : วัดวังตะวันตก
เวลาที่บริการ : 06.00 - 18.00 น.
แหล่งอ้างอิง : สุรเชษฐ์ แก้วสกุล พระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์ อินทโสภิโต) บัญชา พงษ์พานิช ธีระพันธุ์ จันทร์เจิรญ และ โกมล พันธรังสี. (2561). คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนคร และ นานาของดีที่วัดวังตะวันตก กลางเมืองคร. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.
Counter of page 312