นครศรีธรรมราช : เมืองแห่งการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม
Nakhon Si Thammarat : Cultural Heritage Learning City
หน้าแรก
ความเป็นมา
ย่าน
ย่านพระเวียง
ย่านเมืองเก่า
ย่านท่าวัง
ย่านท่าตีน
MOOC
พิพิธภัณฑ์
เกม
ภาคีเครือข่าย
สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
TAT : Nakhon Si Thammarat + Phatthalung
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ติดต่อเรา
Login
ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม
ชื่อย่าน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
ชนิดมรดกทางวัฒนธรรม
Search
มรดกทางวัฒนธรรม >> วัดวังตะวันตก
ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม : วัดวังตะวันตก
วัดวังตะวันตก ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ มีตำนานบอกเล่าที่เกี่ยวพันกับสายสกุลเจ้าเมืองนครในสมัยรัตนโกสินทร์ ตำนานเล่าว่าเดิมพื้นที่ใวัดวังตะวันตกในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นป่าขี้แรดใช้เป็นที่ค้างศพของคนในเมือง ซึ่งนำออกมาทางประตูผี ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมือง แล้วนำล่องเรือมาตามคลองท้ายวังเขาคลองทา แล้วเอาศพไว้ในที่ที่เป็นป่าขี้แรด ต่อมากลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเพราะประเพณีการค้างศพได้เลิกนิยมไป ที่บริเวณนี้จึงกลายเป็นบ้านตากแดดคือปล่อยทิ้งไว้ให้แดดเผา กาลต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินในปีพ.ศ. 2345 หม่อมปราง ภริยาของเจ้าพระยานคร ซึ่งได้พระราชทานมาจากพระเจ้ากรุงธนบุรี มีสถานะเป็นแม่นางเมือง ตั้งนิวาสสถานอยู่ในพื้นที่ที่เป็นวัดวังตะวันออกในขณะนี้ เห็นฝั่งตรงข้ามเป็นป่าอยู่ จึงได้ดัดแปลงเป็นสวนขึ้นสำหรับผักผ่อน เมื่อครั้นหม่อมมารดาปรางสิ้นลงก็ได้จัดการปลงศพภายในสวนนี้ ต่อมาเจ้าพระยานครศรีธรรมโศกราช (น้อย) บุตรชาย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองก็ได้สร้างวัดขึ้นในที่ๆ ปลงพระศพของหม่อมปรางผู้มารดา เรียกว่า “วัดวังตะวันตก” เนื่องจากวัดวังตะวันตกขณะนั้นเพิ่งตั้งขึ้น มีบริเวณกว้างขวางและยังไม่มีอาคารอื่นๆ มากนักเจ้าพระยานครศรีธรรมโศกราชจึงได้สร้างพระพุทธรูปสูงใหญ่ขึ้นองค์หนึ่งไว้ทางทิศใต้ของบริเวณวัด โดยสร้างไว้บนเนินดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน ถวายชื่อว่า “พระศรีธรรมโศกราช” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของผู้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “พระสูง” วัดวังตะวันตกได้มีชื่อเสียงรู้จักกันกว้างขวางในสมัยพระครูกาชาด (ย่อง) ร่วมกับบรรดาญาติโยม สานุศิษย์พัฒนาวัดวังตะวันตกจนมีสิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัด ได้แก่ กุฏิทรงไทย อุโบสถเก่า และศาลาการเปรียญประโชติศาสนกิจ เป็นต้น (สุรเชษฐ์ แก้วสกุล และคณะ, 2561)
พื้นที่ : วัดวังตะวันตก
เวลาที่บริการ : 06.00 - 20.00 น.
แหล่งอ้างอิง : สุรเชษฐ์ แก้วสกุล และคณะ. (2561). คัมภีร์พระนิพพานโสตร ตำนานแห่งพระบรมธาตุเมืองนคร และนานาของดีที่วัดวังตะวันตกกลางเมืองนคร. นครศรีธรรมราช: พิมพ์ดี.
Counter of page 376