นครศรีธรรมราช : เมืองแห่งการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม
Nakhon Si Thammarat : Cultural Heritage Learning City
หน้าแรก
ความเป็นมา
ย่าน
ย่านพระเวียง
ย่านเมืองเก่า
ย่านท่าวัง
ย่านท่าตีน
MOOC
พิพิธภัณฑ์
เกม
ภาคีเครือข่าย
สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
TAT : Nakhon Si Thammarat + Phatthalung
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ติดต่อเรา
Login
ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม
ชื่อย่าน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
ชนิดมรดกทางวัฒนธรรม
Search
มรดกทางวัฒนธรรม >> หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ชื่อมรดกทางวัฒนธรรม : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2477 ในสมัยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยกรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ (กระทรวงวัฒนธรรมในปัจจุบัน) มีชื่อเรียกเมื่อขณะแรกก่อตั้งว่า “หอสมุดแห่งชาติวัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมโบราณคดี วรรณกรรม และหนังสือเกี่ยวกับศีลธรรมให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า มีคณะกรรมการอำนวยการชั้นต้น 15 คน โดยมีนายอินทร์ รัตนวิจิตร เป็นพนักงานหอสมุดแห่งชาติวัดพระมหาธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นคนแรก โดยใช้วิหารสามจอมในบริเวณวัดพระมหาธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นสถานที่ดำเนินการเป็นแห่งแรก ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่ทำการหลายครั้ง โดยในปีพ.ศ. 2518 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารถาวรของหอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ขึ้นภายในบริเวณเดียวกับหน่วยศิลปากรที่ 8 และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 3 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมด 1,084 ตารางเมตร ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2518 หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช เป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศทุกประเภท เป็นแหล่งให้ความรู้ทางศิลปะวิทยาการสาขาต่างๆ ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช (หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช, 2566)
พื้นที่ : ย่านพระเวียง
เวลาที่บริการ : 08.30 - 16.00 น.
แหล่งอ้างอิง : สัมพันธ์ ทองสมัคร. (2550). จตุคามรามเทพ. กรุงเทพมหานคร: ก.พลพิมพ์ (1996).
Counter of page 269